เป็นที่ทราบกันดีว่า ทางเอ็นจินีโอจะมีตัวอย่างของงานติดตั้ง รวมทั้งเทคการติดตั้งดีๆ มาฝากแฟนๆ ของเอ็นจินีโอเป็นประจำทุกเดือน พร้อมทั้งสิ่งใหม่มาแนะนำอยู่เสมอๆ สำหรับครั้งนี้ทางเราได้มีโอกาส ติดตั้งระบบให้แก่พิพิธภัณฑ์ การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นสถานที่เรียนรู้ระบบการอนุรักษ์พลังงาน และพลังงานทดแทน นอกจากจะใช้เป็นสถานเรียนรู้ทางด้านวิชาการการเกษตรแล้ว ยังมุ่งเน้นถึงเรื่องพลังงานทดแทน และรู้ค่าของการใช้พลังงานทดแทนต่างๆให้เกิดประโยชน์ ตามปรัชญาเศษฐกิจพอเพียง โดยนำสิ่งที่ธรรมชาติให้มารอบตัวเรามาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่นนำแสงแดดมาผลิตไฟฟ้า เพื่อใช้ในการสูบน้ำสำหรับการเกษตร ใช้ลมมาผลิตไฟฟ้าสำหรับไฟฟ้าส่องสว่าง ใช้ความต่างศักดิ์ของน้ำมาผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ประโยชน์ต่อชุมชน เป็นต้น ด้วยสายตาอันยาวไกลของผู้บริหารพิพิธภัณฑ์ที่เห็นควรมีการจัดตั้งชุดสาธิตพลังงานทดแทน เพื่อให้ความรู้แก่ผู้เข้ามาเยี่ยมชม จึงติดต่อเอ็นจินีโอ เป็นผู้ติดตั้งระบบพลังงานสะอาดให้กับพิพิธภัณฑ์ 4 ระบบด้วยกัน ทางเอ็นจินีโอเห็นว่าเป็นโครงการที่มีประโยชน์ ต่อบุคคลและประเทศ จึงขออนุญาตินำข้อมูลบางส่วนมาเผยแพร่ให้กับผู้ที่สนใจ ทั้งนี้ต้องขอขอบพระคุณทางพิพิธภัณฑ์มา ณ โอกาสนี้
จากถนนพหลโยธินมุ่งหน้าขึ้นเหนือ เลยรังสิตเพียงนิดเดียวก็เห็นป้ายขวามือ
ประตูทางเข้าพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ
เอ็นจินีโอได้รับความไว้วางใจให้ติดตั้งระบบสาธิตระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนสำหรับครัวเรือนชุมชนทั้งสิ้น 4 ระบบ ได้แก่ ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับสูบน้ำและผลิตไฟฟ้าชุมชนครัวเรือน ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 1,000 วัตต์สำหรับชุมชน ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาด 1,000 วัตต์ ซึ่งแต่ละชุดมีดังนี้
ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมโดยกังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาด 1,000 วัตต์ เป็นอุปกรณ์กำหนิดไฟฟ้าหลัก ไฟฟ้าที่ผลิตได้จะถูกนำมาชาร์ทเข้ากับแบตเตอรี่โดยผ่านเครื่องควบคุมการชาร์ท จากนั้นใช้อินเวอร์เตอร์ขนาด 1,000 วัตต์เป็นอุปกรณ์แปลงไฟจากไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (ไฟฟ้าใช้ปรกติทั่วไป 220ACV) ซึ่งสามารถใช้ได้กับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านพักอาศัยได้เช่น โทรทัศน์ พัดลม ตู้เย็น เป็นต้นฯ
ชุดสาธิตระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ เนื่องจากพลังงานน้ำต้องอาศัยความต่างศักดิ์ของน้ำ หรือระดับความสูงของน้ำที่ต่างกัน เพื่อที่จะใช้แรงดันของน้ำพลักดันชุดใบของกังหันน้ำให้หมุนและปั่นไฟฟ้า จึงทำการจำลองการทำงานโดยการใช้น้ำบรรจุไว้ในถังที่มีความสูงจากพื้น 5 เมตรและต่อท่อเข้ากับกังหันน้ำผลิตไฟฟ้า จึงทำให้กังหันน้ำหมุนและผลิตไฟฟ้าออกมา ไฟฟ้าจะถูกผ่านอุปกรณ์ในการชาร์ทเพื่อชาร์ทไฟเข้าไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ จากนั้นผ่านเครื่องแปลงไฟเพื่อให้สามารถใช้เป็นไฟฟ้า 220ACV ได้
ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับสูบน้ำและผลิตไฟฟ้าใช้สำหรับชุมชนครัวเรือน โดยมีต้นกำหนิดไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ มีโซล่าเซลล์เป็นอุปกรณ์แปลงพลังงานจากแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้าและชาร์ทเข้าไว้ในแบตเตอรี่โดยผ่านตัวควบคุมการชาร์ทประจุ จากนั้นใช้อินเวอร์เตอร์แปลงไฟจากแบตเตอรี่ให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ 220ACV เพื่อใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน สำหรับระบบนี้จะมีข้อแตกต่างในการผลิตไฟฟ้าทั่วไปคือ ใช้กับเครื่องสูบน้ำแบบใต้ดิน โดยปั้มที่ใช้ในระบบนี้เป็นชุดสูบน้ำที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ปั้มน้ำสามารถรับไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์โดยตรง หรือรับพลังงานมาจากแบตเตอรี่ โดยการทำงานของปั้มจะทำงานผ่านเครื่องควบคุมที่มีลักษณะการทำงานแบบ PWM จึงทำให้ปั้มทำงานได้อย่างมีประสิทธภาพ สามารถสูบน้ำได้ลึกมากกว่า 50 เมตร
ระบบสุดท้ายมีความคล้ายกับระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ผ่านมา แตกต่างกันตรงที่ปั้มสูบน้ำที่ใช้การนำวัสดุอุปกรณ์ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และลดค่าใช้จ่าย เนื่องจากระบบสูบน้ำที่ออกแบบมาสำหรับสูบน้ำโดยเฉพาะมีราคาสูง จึงนำอุปกรณ์ที่มีอยู่แล้วมาประยุกต์ใช้ โดยปั้มน้ำที่ใช้เป็นปั้มน้ำแบบลูกสูบแนวนอน (ชาวบ้านเรียกว่าปั้มชัก หรือปั้มฉึกฉัก) ใช้มอเตอร์ DC ขนาด 500 วัตต์เป็นอุปกรณ์ขับปั้ม จากการทดสอบพบว่าปั้มน้ำทำงานได้เป็นอย่างดี
จากที่ได้กล่าวนำไปแล้วตอนนี้มาดูผลงานติดตั้งที่เราได้นำเอารูปมาฝากแฟนกัน....
เริ่มจากการตั้งเสากังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาด 1,000 วัตต์
ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ จำนวน 2 ชุด ชุดละ 1,000 วัตต์
หน่ายงานที่ติดตั้งภายในเริ่มดำเนินการ เดินสายไฟเข้าในห้องควบคุม สังเกตุว่าทีมงานเอ็นจินีโอ มีความระมัดระวังและพร้อมในการทำงาน
พื้นที่ในการติดตั้งชุดควบคุมพร้อมอุปกรณ์มีพื้นที่ค่อนช้างจำกัด จึงนำชุดสาธิตทั้ง 4 ชุดอยู่รวมในที่เดียวกัน
ด้านซ้ายเป็นชุดอุปกรณ์ของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำ โดยแผงจะมีอินเวอร์เตอร์สำหรับแปลงไฟ และเครื่องชาร์ทประจุ (สีขาวใส) ออกแบบและสร้างโดยเอ็นจินีโอเพื่องานนี้โดยจำเพาะ โดยกังหันน้ำผลิตไฟฟ้าจะผลิตไฟฟ้าออกมาเป็นไฟ AC เครื่องชาร์ทประจุจะมีหน้าที่เปลี่ยนไฟ AC เป็น DC เพื่อที่จะสามารถชาร์ทไฟเข้ากับแบตเตอรี่ได้
ชุดด้านขวาเป็นชุดอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม เมื่อกังหันลมหมุน ไฟฟ้าที่ออกมาจากกังหันลมจะมาผ่านเครื่องชาร์ทประจุ (ตัวสีเท่า) เพื่อชาร์ทเข้าแบตเตอรี่และมีอินเวอร์เตอร์เป็นอุปกรณ์แปลงไฟ
เครื่องชาร์ทประจุจากกังหันน้ำผลิตไฟฟ้าที่สร้างโดยเอ็นจินีโอ
ระบบด้านซ้ายมือเป็นระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับใช้และสูบน้ำโดยใช้กับปั้มน้ำแบบสูบแนวนอน และชุดด้านขวา เป็นระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้กับระบบสูบน้ำโดยใช้กับระบบสูบน้ำที่ออกแบบมาสำหรับสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์โดยจำเพาะซึ่งสามารถสูบน้ำได้ลึกถึง 50 เมตร
บบ
ปั้มสูบน้ำแบบลูกสูบแนวนอนที่มีขายทั่วไปตามท้องตลาด และใช้ DC มอเตอร์ ขนาด 500 วัตต์เป็นต้นกำลัง โดยต่อมอเตอร์เข้ากับแบตเตอรี่ แต่ต้องระวังหากต่อกับแบตเตอรี่โดยตรง เมื่อทำงานไปจนกระทั่งแบตเตอรี่อ่อนมากๆ (Over discharge) อาจจะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมได้ ดังนั้นต้องมีอุปกรณ์ป้องกัน คือเมื่อแบตเตอรี่อ่อนให้ทำการตัดระบบการทำงานของปั้มน้ำเพื่อยืออายุการใช้งานของแบตเตอรี่ หรือป้องกันแบตเตอรี่เสียหาย ในการติดตั้งครั้งนี้เอ็นจินีโอ ได้ใช้เครื่องชาร์ท/ ควบคุมประจุของยี่ห้อ Xantrex by Schneider ประเทศ Cannada ซึ่งเอ็นจินีโอเป็นตัวแทนจำหน่ายมาใช้ควบคุมการทำงานของมอเตอร์นี้
หน้าตาของเครื่องควบคุมการชาร์ทและควบคุมโหลดของ Xantrex ตอนนี้มีจำหน่ายแล้วที่ เอ็นจินีโอ สามารถติดต่อสอบถามที่ฝ่ายขายได้เลยครับ ราคาซา..บายกระเป๋า
สำหรับระบบชุดสูบน้ำใต้ดินใช้ระบบควบคุมของยี่ห้อ Rolentz เป็นระบบสูบน้ำที่มีชื่อเสียงยอมรับทั่วโลก เจ้าของเป็นประเทศ เยอรมัน แต่ราคาก็แพงเอาการเลยทีเดียว หากเทียบกับพื้นที่ไม่มีไฟฟ้า หรือไฟฟ้าที่เข้าไม่ถึง ก็ยังถือว่าคุ้มที่จะเลือกมาใช้ระบบสูบน้ำยี่ห้อนี้
ที่กล่าวมาเป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆน้อยๆ ทางเอ็นจินีโออยากให้รู้จักใช้พลังงานอย่างประหยัด และรู้ที่จะนำพลังงานตัวเรามาใช้ให้เกิดประโยชน์ การติดตั้งอุปกรณ์ไม่ใช่เรื่องยาก แต่สิ่งสำคัญคือเรื่องของความปลอดภัย และความสวยงามของการติดตั้งระบบ ทุกชิ้นส่วนต้องอาศัยความปราณีต อันนี้เป็นหัวใจของคำว่ามืออาชีพ ....